วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเจริญเติบโตของสัตว์หลังระยะเอ็มบริโอ

การเจริญเติบโตหลังระยะเอ็มบริโอของสัตว์


สัตว์บางชนิดเช่น แมลงและกบ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโต โดยรูปร่างขณะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแตกต่างกันมาก เรียกการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ว่า เมทามอร์โฟซิส (metamorphosis)


1. เมทามอร์โฟซิสของแมลง แบ่งออกเป็น 4 แบบคือ

1.1 ไม่มีเมทามอร์โฟซิส (without metamorphosis หรือ ametamorphosis ) ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีรูปร่างเหมือนกับพ่อแม่ทุกอย่าง แล้วตัวอ่อนก็ค่อย ๆ เจริญเติบโตแล้วลอกคราบเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป เช่น แมลงสามง่าม แมลงหางดีด




รูปที่ 1 แสดงวงชีวิตของแมลงสามง่าม



1.2 มีเมทามอร์โฟซิสแบบค่อยเป็นค่อยไป (gradual metamorphosis) ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่มีรูปร่างคล้ายพ่อแม่ แต่มีอวัยวะบางอย่างไม่ครบ เช่น ไม่มีปีก เมื่อแมลงโตขึ้นและลอกคราบปีกจะเริ่มงอกขึ้นเรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า นิมฟ์ (nymph) ต่อจากนั้นก็จะมีการลอกคราบหลายครั้งและเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป เช่น ตั๊กแตน แมลงสาบ ปลวก เหา ไร่ไก่ จั๊กจั่น


รูปที่ 2 แสดงวงชีวิตของปลวก




1.3 มีเมทามอร์โฟซิสแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) มีลักษณะคล้ายแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ขณะที่เจริญเติบโตนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมากกว่า ตัวอ่อนมักเจริญอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือกเรียกว่า ไนแอด (naiad) ต่อจากนั้นตัวอ่อนจะลอกคราบขึ้นมาอยู่บนบกและหายใจด้วยระบบท่อลม เช่น ชีปะขาว แมลงปอ



รูปที่ 3 แสดงวงชีวิตของแมลงปอ




1.4 มีเมทามอร์โฟซิสแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) โดยมีการเจริญเปลี่ยนแปลงรูปร่างของร่างกาย เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ไข่ (egg) แล้วฟักเป็นตัวอ่อนหรือตัวหนอน (larva) ซึ่งกินอาหารเก่งมากและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นจึงเป็นดักแด้ (pupa) หยุดกินอาหารมักใช้ใยหรือใบไม้หุ้มตัวและฟักตัวอยู่ระยะหนึ่ง ตัวเต็มวัย (adult) ออกจากเกราะและสืบพันธุ์ได้ต่อไป เช่น ด้วง ผีเสื้อ แมลงวัน ยุง ผึ้ง ไหม






รูปที่ 4 แสดงวงชีวิตของผีเสื้อ





รูปที่ 5 แสดงวงชีวิตของยุง



เมทามอร์โฟซิสของกบ

กบมีการผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำ ซึ่งตามปกติแล้วฤดูผสมพันธุ์นั้นคือ ฤดูฝน ไข่ไม่มีเปลือกหุ้มแต่มีวุ้นหุ้มอยู่รอบ ๆ หลังจากปฏิสนธิ 3-12 ชั่วโมงจะมีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้น ตัวอ่อนจะงอกหางเมื่ออายุได้ 4 วัน วันที่ 6 หลังจากปฏิสนธิตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่เป็นลูกอ๊อด ว่ายน้ำและหายใจด้วยเหงือก ซึ่งอยู่ภายนอก มีการงอกขาหลังและขาหน้าตามลำดับ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่อโดยหางจะหดสั้นเข้า ขึ้นมาอาศัยอยู่บนบกได้ หายใจด้วยปอดและผิวหนังแทนเหงือก พออายุได้ 3 ปี ก็จะเป็นกบที่สมบูรณ์และสืบพันธุ์ได้ต่อไป




รูปที่ 6 แสดงวงชีวิตของกบ







3 ความคิดเห็น: